ถ้าตนเป็นผู้เสียหายและต้องการแจ้งความ

สารบัญ

5 ข้อเบื้องต้น ที่ประชาชนควรรู้ ถ้าตนเป็นผู้เสียหายและต้องการแจ้งความ

1. การแจ้งความ

การแจ้งความ คือ การที่เรานำเรื่องที่เราเดือดร้อนไปร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับคำร้องทุกข์ เช่น พนักงานสอบสวน ณ ท้องที่ที่เกิดเหตุ (หลักปฏิบัติ)
1.1 ต้องมีเจตนาการให้มีการดำเนินคดีจนถึงที่สุดทำให้เกิดเป็นคดีความระหว่างผู้เสียหายและอีกฝ่ายหนึ่งที่เป็นคู่กรณี และเจ้าหน้าที่จะสามารถดำเนินคดีต่อไปได้ (ตาม ป.วิ.อ.2(7)
ส่วนกรณีที่ต้องการแจ้งไว้เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานไม่ต้องการให้มีการดำเนินคดีใด ๆ เรียกว่า “การลงบันทึกประจำวัน” ไม่ถือว่าร้องทุกข์โดยมีเจตนาให้ดำเนินคดีน่ะจ๊ะ
1.2 การตั้งข้อหาเป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ด้วยเหตุนี้ประชาชนทั่วไป เป็นเรื่องปกติที่ไม่ทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเข้าข่ายความผิดข้อหาอะไร แต่ให้เล่าข้อเท็จจริงที่เกิดทั้งหมดขึ้นให้พนักงานสอบสวนฟัง
1.3 ความผิดอาญาแยกออกเป็น 2 ประเภท คือความผิดอาญาอันยอมความได้ และความผิดอาญาแผ่นดิน
ความผิดอาญาอันยอมความได้ คือ ความผิดต่อส่วนตัวผู้ถูกกระทำเท่านั้น และเป็นความผิดยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายต้องแจ้งความร้องทุกข์ ภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำผิดเช่น หมิ่นประมาท เช็คเด้ง ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ เป็นต้น

2. หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนก็ทำหน้าที่สอบคำให้การผู้เสียหาย

หลังจากนั้นพนักงานสอบสวนก็ทำหน้าที่สอบคำให้การผู้เสียหาย ถึงเรื่องราวทั้งหมด ในส่วนนี้ผู้เสียหายมีพยานหลักฐานใดที่ยืนยัน ก็นำมาให้พนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนนำไปประกอบในสำนวนด้วย หรือมีพยานบุคคลก็สามารถพาไปพบพนักงานสอบสวนได้ เพื่อให้พนักงานสอบสวนสอบปากคำไว้เป็นพยาน

3.หลังจากสอบคำให้การผู้เสียหายเสร็จ

หลังจากสอบคำให้การผู้เสียหายเสร็จ พนักงานสอบสวนก็ออกหมายเรียกไปผู้ต้องหาให้มารับทราบข้อกล่าวหาและสอบคำให้การ
แต่ถ้าพนักงานสอบสวนดูแล้วไม่ค่อยมีน้ำหนัก กรณีนี้พนักงานสอบสวนก็สามารถออกหมายเรียกไปยังคู่กรณีในฐานะพยานเพื่อให้มาให้การก่อนก็ได้ เพื่อดูพฤติการณ์ว่ามีความน่าเชื่ออย่างไร ( ถ้าสอบแล้ว ดูแล้วเป็นผู้กระทำความผิด ก็เปลี่ยนสถานะเป็นผู้ต้องหาในภายหลังได้)

4. หมายเรียกที่ออกไปแล้วอีกฝ่ายมาพบพนักงานสอบสวน

4.1 อาจมีการเจรจากันได้ระหว่างผู้เสียหาย กับ ผู้ต้องหา โดยเฉพาะความผิดอาญายอมความได้หรือส่วนตัว หากผู้ต้องหายอมรับผิดและชดใช้เงินคืน เช่น คดียักยอกทรัพย์ คดีฉ้อโกง ดคีเช็ค แล้วยอมความกันการดำเนินคดีก็จะสิ้นสุดลงในชั้นสอบสวน โดยผู้เสียหายถอนคำร้องทุกข์
แต่ถ้าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินก็จะต้องสรุปสำนวนส่งให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องต่อไป
4.2 แต่ถ้าผู้ต้องหาปฏิเสธ (ต่อสู้) ก็ดี หรือไม่สามารถเจรจากันได้ในคดีความผิดส่วนตัว พนักงานสอบสวนก็จะสอบคำให้การผู้ต้องหาต่อไป สอบสวนเสร็จก็สรุปสำนวนส่งให้พนักงานอัยการต่อไป

5.แต่ถ้าออกหมายเรียกแล้วผู้ต้องหาไม่ยอมมาและไม่แจ้งเหตุผล

แต่ถ้าออกหมายเรียกแล้วผู้ต้องหาไม่ยอมมาและไม่แจ้งเหตุผล พนักงานสอบสวนก็ขอให้ศาลออกหมายจับ เพราะถือเป็นการขัดคำสั่งเจ้าพนักงานไม่ยอมมาตามหมายเรียกต้องถูกจับมาสอบปากคำต่อไป
📌ติวเนติฯคอร์สยาว เทอม2สมัย76 ยังเปิดรับ มาพร้อมกับการวางแผนการเรียนพร้อมตะลุยข้อสอบเขียน แถมฟรีคอร์สติวสรุป และคอร์สฝึกเขียนข้อสอบ กับระบบJPlaw e-learning (เว็บไซต์) ที่เรียนซ้ำๆได้ถึงวันสอบ
 
กดดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้ ได้เลย
 
☆ ติดต่อสอบถามหรือสมัครได้ที่
● 088-2878963
● inboxfanpage http://m.me/tuitor.jane
● แอดไลน์สถาบันรับข้อมูลดีๆทางไลน์ครับ https://lin.ee/fEN7wac