สิทธิในการมีทนายของจำเลย
ในชั้นสอบสวน ม.134/1
#1. คดีที่ผตห. อายุไม่เกิน18ปีนั้น “ไม่คำนึงถึงอัตราโทษ” แม้จะเป็นเพียงโทษปรับสถานเดียว พงส. ก็ต้องสอบถามทนายความตามม.134/1 วรรคหนึ่ง
#2. อายุ18ปีของผตห.ถือเอาวันที่พงส.แจ้งข้อหาตามม.134 เป็นหลัก ไม่ได้ถือเอาวันที่ผตห.กระทำความผิด ดังนั้นถ้าไม่ใช่คดีที่มีโทษประหารชีวิต แม้ขณะกระทำความผิดผตห.จะยังมีอายุไม่ครบ18ปี แต่ในวันที่พงส.แจ้งข้อหาตามม.134 ผตห.มีอายุเกิน18ปีแล้วก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ในม.134/1 วรรคหนึ่ง
#3. คำว่า”ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้” ตามม.134/1 หมายความว่า ถ้าพงส.ถามผตห. แล้ว ผตห.บอกว่าไม่มี พงส.ก็ต้องจัดหาทนายความให้ แม้ผตห. จะบอกว่าไม่ต้องการทนายความก็ตาม พงส.ก็ต้องจัดหาทนายความให้
สรุป
#สรุป! ม.134/1 ว.1 บังคับให้พงส.ต้องจัดหาทนายความให้แก่ผตห.นะ
#กรณีตามม.134/1ว.2 พงส.จะต้องถามผตห.สองคำถาม คือต้องถามว่าผตห.มีทนายความหรือไม่ ถ้าผตห.ตอบว่าไม่มี พงส.ต้องถามต่อไปว่าผตห.ต้องการทนายความหรือไม่ หากผตห.ตอบว่าต้องการทนายความ พงส.จะต้องจัดหาทนายความให้.
หมายเหตุ.
-กรณีตามม.134/1ว.2 จะต้องเป็นกรณีที่ผตห.ต้องการทนายความด้วย พงส.จึงจะต้องจัดหาทนายความให้ หากพงส.สอบถามผตห.แล้ว ผตห.บอกว่าไม่มีและบอกว่าไม่ต้องการทนายความ พงส.ก็ไม่ต้องจัดหาทนายความให้ เพราะตัวบทใช้คำว่า”ถ้าไม่มีและผตห.ต้องการทนายความให้รัฐจัดหาทนายความให้” (ต่างกับม.134/1ว.1)
ผลการฝ่าฝืน
-ถ้าพงส.ไม่ปฎิบัติโดยชอบ ผลการฝ่าฝืนม.134/4ว.ท้าย “ถ้อยคำผตห.ในชั้นสอบสวนจะรับฟังเป็นพยานหักฐานในชั้นศาลไม่ได้”
สิทธิในการมีทนายของจำเลย ในชั้นศาล
ขึ้นไต่สวนมูลฟ้อง ม.165/1
# ข้อสังเกต
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นกม. ได้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องทนายความมาใช้บังคับด้วย จึงได้บัญญัติ ม.165 /1 ขึ้นมา กล่าวคือ ในชั้นไต่ส่วนมูลฟ้องนั้นถ้าจำเลยมาศาล และคดีที่ศาลไต่สวนมูลฟ้อง นั้นเป็นคดีที่มีโทษประหารชีวิต หรือจำเลยเป็นเด็กอายไม่เกิน 18 ปี และจำเลยไม่มีทนายความ ศาลจะต้องตั้งทนายความให้แก่จำเลยด้วย ซึ่งแต่เดิมในชั้นไต่สวนมูลฟ้องนั้นไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องแต่งตั้งทนายความให้แก่จำเลย.
ขั้นพิจารณา ม.173
#ข้อสังเจต
ม.173 ว.1 +ว. 2 บัญญัติตรงกันว่าให้ศาลปฏิบัติการสอบถามเรื่องทนายความ”ก่อนเริ่มพิจารณา” ต่างกับมี ม.134/1 ว.1 และ ว.2 ที่กำหนดให้พงส.ต้องปฏิบัติ “ก่อนเริ่มถามคำให้การ
-อย่างไรก็ตามการที่ศาลถามคำให้การจำเลยตามม.172 ว.2 ก็ถือได้ว่าเป็นการพิจารณาอย่างหนึ่งตามป.วิ.พ.ม.1(8)ประกอบป.วิอาญา ม.15 ดังนั้น ศาลจึงต้องสอบถามและหรือต้งทนายความตามม.173 ก่อนที่จะมีการถามคำให้การจำเลยตามม.172 ว.2 แม้ ม.173 จะบัญญัติต่อจากม.172 แต่ศาลก็ต้องปฏิบัติก่อนขั้นตอนตามม.172ว.2
(ฎ.4460/2546 , ฎ.871/2509(ป) )
-การที่ศชต.ไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนของม.173 ถือเป็นปัญหาข้อกม.ที่เกี่ยวด้วยความสงบฯ ศาลสูงมีอำนาจหยิบยกวินิจฉัยได้เองและยกย้อนสำนวนไปให้ศชต.ดำเนินการพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดีให้ถูกต้องได้ตามม.208(2) (ฎ.5260/2548 , ฎ.6327/2548 , ฎ.9001/2547)
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : สถาบันติวกฎหมายติวเตอร์เจน-ไพศิษฐ์