สารบัญ

ฟ้องซ้อนในคดีอาญา กับ 3ประเด็นน่าสนใจ

ฟ้องซ้อนในคดีอาญา กับ 3ประเด็นน่าสนใจ

เมื่อโจทก์ได้ยื่นฟ้องคดีอาญากับ จําเลยไว้แล้ว และอยู่ใน ระหว่างพิจารณาของศาล จะฟ้องจําเลยคนเดียวกัน ใน ข้อหาเดียวกัน อีกได้หรือไม่ ? วันนี้เรามีคำตอบให้กับทุกคนไปดูกันเลย กับ ฟ้องซ้อนในคดีอาญา กับ 3ประเด็นน่าสนใจ

ประเด็นที่ 1

อํานาจฟ้องคดีของพนักงานอัยการ และผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 28 เป็นอิสระแยกจากกัน แม้ พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายจะยื่นฟ้องคดีอาญา ไว้แล้ว ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ แล้วแต่กรณี ก็มีสิทธิฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันเป็นอีกคดีหนึ่งได้ กรณีนี้ไม่น่าหลักเกณฑ์เรื่องการฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) มาใช้บังคับ

(เทียบฎีกาที่ 1646-1649/2515)

แต่ถ้า พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องคดีไว้แล้ว คดีอยู่ในระหว่าง พิจารณา พนักงานอัยการก็จะนําคดีอาญาเรื่องเดียวกันมาฟ้อง อีกไม่ได้ หรือผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องคดีอาญาไว้แล้ว คดีอยู่ใน ระหว่างพิจารณา ผู้เสียหายก็จะนําคดีอาญาเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกไม่ได้

ประเด็นที่ 2

การร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ทางกฎหมายถือว่าเป็นการยื่นฟ้อง การที่ผู้เสียหายร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ ย่อมถือว่าผู้เสียหายได้ยื่นฟ้อง จําเลยแล้ว ผู้เสียหายย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจําเลยเป็น คดีใหม่ได้อีก และในทางกลับกันถ้าผู้เสียหายฟ้อง
จําเลยแล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิที่จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้อีกเช่นกัน (เทียบฎีกาที่ 728/2494)

ประเด็นที่ 3

สิทธิในความเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาเป็นสิทธิเฉพาะตัว ในคดีอาญาเรื่องเดียวกันหรือการกระทํา ของจําเลยคราวเดียวกัน หรือกรรมเดียวกัน อาจจะมี ผู้เสียหายหลายคนก็เป็นได้ กรณีเช่นนี้ ผู้เสียหาย แต่ละคนก็ย่อมมีอํานาจยื่นฟ้องคดีอาญาได้ตามมาตรา 28 (2)

กรณีที่ผู้เสียหายคนหนึ่งยื่นฟ้องคดีไว้แล้ว ผู้เสียหายคนอื่นก็มีสิทธิยื่นฟ้องจําเลยคนเดียวกัน ในคดีอาญาเรื่องเดียวกันอีกได้ เพราะไม่มีกฎหมาย
ห้ามไว้ และกรณีเช่นนี้ก็ไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 เพราะไม่ใช่โจทก์คนเดียวกัน
(เทียบฎีกาที่ 769/2535)

แต่ถ้า กรณีบุคคลผู้มีอํานาจจัดการแทน ผู้เสียหายโดยตรง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4-6 โดย เฉพาะผู้มีอํานาจจัดการแทนมิได้หลายคน เช่น 5(1) หรือ 5(2) คนหนึ่งใช้สิทธิจัดการแทนไป แล้ว ย่อมเป็นการใช้สิทธิแทนบุคคลอื่นทั้งหมด เช่น ภรรยาผู้ตายได้เป็นโจทก์ฟ้องจําเลยหาว่า ฆ่าผู้ตายโดยเจตนา ศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ไต่สวน มูลฟ้องแล้ว บิดามารดาของผู้ตายมาฟ้องขอให้ ลงโทษจําเลยในความผิดฐานเดียวกันหาได้ไม่ (เทียบฎีกาที่ 1790/2492)

เป็นยังไงบ้างครับกับ ความรู้เรื่อง 3ประเด็นน่าสนใจ ฟ้องซ้อนในคดีอาญา