เวลาในทางกฎหมาย

สารบัญ

การนับระยะเวลาในทางกฎหมาย นับยังไง? เริ่มต้นเมื่อไร ไปสิ้นสุดตอนไหน

การนับระยะเวลาในทางกฎหมาย นับยังไง? เริ่มต้นเมื่อไร ไปสิ้นสุดตอนไหน กันแน่ !!
ตาม ป.พ.พ. ลักษณะ 5 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์การนับระยะเวลาไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรา 193/1

       เป็นการกำหนดให้ใช้วิธีการตามที่ ป.พ.พ.บัญญัติไว้ เช่น การนับอายุความ เป็นต้น แต่ถ้ามีการกำหนดระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะ หรือศาลที่มีคำสั่งให้คำนวณระยะเวลาตามหลักเกณฑ์อื่น ก็ให้คำนวณระยะเวลาตามที่กำหนดไว้นั้น

การกำหนดระยะเวลาในทางกฎหมาย เป็น “ วัน ” ตามมาตรา 193/2

ให้คำนวณเป็นวัน แต่ถ้าคำนวณเป็น ชั่วโมง / นาที ก็ให้คำนวณตามหน่วยนั้น
      โดยคำว่า “ วัน ” ตามความเข้าใจโดยทั่วไปนั้น หมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนของวันหนึ่งไปจนถึงเที่ยงคืนของวันถัดไป รวมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
แต่! ในทางกฎหมาย หรือในทางราชการ ! จะหมายถึง เวลาทำการตามปกติที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล ระเบียบข้อบังคับของกิจการนั้น เช่น กิจการธนาคารตามห้างสรรพสินค้า กำหนดเวลาทำการตั้งแต่ 08.00 น. ถึง 20.00 น. เป็นต้น

มาตรา 193/3 วรรคสอง

การกำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือน หรือปี ไม่ให้นับวันแรกรวมเข้าด้วยกัน เว้นเสียว่าได้ทำการที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นตามธรรมเนียมปฏิบัติ
      คำพิพากษาฎีกาที่ 953/2543 ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มิได้กำหนดวิธีการนับระยะเวลาไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น จึงต้องอาศัยการนับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ให้นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรก
      ฎีกาที่ 1924/2560 ซึ่งศาลวินิจฉัยว่าการฟ้องเพิกถอนมติที่ประชุมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1195 ต้องร้องต่อศาลภายใน 1 เดือนนับแต่วันลงมตินั้น บริษัทมี การประชุมลงมติในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556การนับระยะเวลา 1 เดือนตามมาตรา 193/3 วรรคสอง ต้องเริ่มนับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรก โดยเริ่มนับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2556 และนับระยะเวลาสิ้นสุดตามมาตรา 193/5 วรรคสอง คือ สิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าที่จะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือน หรือปีสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น ในกรณีนี้คือ ต้องฟ้องเพิกถอนภายในวันที่ 7มีนาคม 2556 (คือวันก่อนหน้าที่จะถึงวันที่ 8 มีนาคม 2556 )

มาตรา 193/8

      ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา เช่น
      คำพิพากษาฎีกาที่ 4931/2533 สิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความครบกำหนดตรงกับวันเสาร์ ให้นับวันจันทร์ โดยให้ถือว่าวันจันทร์ ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เป็นวันสุดท้าย

มาตรา 193/5 กำหนดระยะเวลาในทางกฎหมายเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปีให้คำนวณระยะเวลาตามปีปฏิทิน

     ถ้าระยะเวลานั้น #ไม่ได้เริ่มต้น จากต้นสัปดาห์ ต้นเดือน หรือต้นปี ระยะเวลาจะไปสิ้นสุด #ในวันก่อนหน้าที่จะถึงวัน ตามสัปดาห์ เดือน หรือปี อันเป็นวันที่เราเริ่มนับระยะเวลานั้น ถ้าไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอาวันสุดท้ายแห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
      ถ้านับเป็นสัปดาห์ ระยะเวลาสิ้นสุดก่อนถึงวันนั้นๆ เช่น ระยะเวลา 7 วัน วันแรกแห่งสัปดาห์คือวันอาทิตย์ วันสุดท้ายแห่งสัปดาห์คือวันเสาร์
ถ้านับเป็นเดือน ซึ่งบางเดือนมีระยะเวลาไม่วันเท่ากัน ในทางกฎหมายให้ถือว่าเป็นระยะเวลา 1 เดือนเหมือนกัน
ดังนั้น 1 เดือน กับ 30 วัน จึงแตกต่างกันและอาจมีจำนวนวันไม่เท่ากัน
      ถ้านับเป็นปี กฎหมายให้ถือว่าเป็นระยะเวลา 1 ปี เหมือนกัน โดยไม่คำนึงว่ามีกี่วัน เช่น
คำพิพากษาฎีกาที่ 3484/2559 ศาลวินิจฉัยว่าเช็คลงวันที่ 20 เมษายน 2556 อายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1002 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งจะครบอายุความในวันที่ 20 เมษายน 2557
#ทริคการนับเวลาในทางกฎหมายแบบเข้าใจง่ายๆ
นับเวลาเป็นปี ▶ นับปีชนปี
นับเวลาเป็นเดือน ▶ นับเดือนชนเดือน หรือสิ้นเดือนชนสิ้นเดือน
นับเวลาเป็นสัปดาห์ ▶ นับสัปดาห์ชนสัปดาห์
นับเวลาเป็นวัน ▶ นับตามจำนวนวัน (นับวันรุ่งขึ้นเป็นวันแรก)
📌ติวเนติฯคอร์สยาว เทอม2สมัย76 ยังเปิดรับ มาพร้อมกับการวางแผนการเรียนพร้อมตะลุยข้อสอบเขียน แถมฟรีคอร์สติวสรุป และคอร์สฝึกเขียนข้อสอบ กับระบบJPlaw e-learning (เว็บไซต์) ที่เรียนซ้ำๆได้ถึงวันสอบ
 
กดดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้ ได้เลย
 
☆ ติดต่อสอบถามหรือสมัครได้ที่
● 088-2878963
● inboxfanpage http://m.me/tuitor.jane
● แอดไลน์สถาบันรับข้อมูลดีๆทางไลน์ครับ https://lin.ee/fEN7wac