เมื่อท่านเป็นผู้ถูกกระทำ แต่ต้องการมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปแจ้งความร้องทุกข์
คดีอาญาประเภทความผิดต่อส่วนตัว เช่น หมิ่นประมาท , ฉ้อโกง , ทำให้เสียทรัพย์, ยักยอกทรัพย์ , บุกรุก ( ที่ไม่ใช่บุกรุกเหตุฉกรรจ์ ป.อ. 365) , พ.ร.บ. เช็ค เป็นต้น
ถ้า ! ผู้เสียหายประสงค์จะแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน และสรุปสำนวนให้พนักงานอัยการฟ้องคดีต่อศาล
การสอบสวนถือว่าเป็นเงื่อนไขของอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ คำร้องทุกข์ก็ต้องชอบด้วยกฎหมาย
“ ป.วิ.อ. มาตรา 121 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง
แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ”
คดีอาญาประเภทความผิดต่อส่วนตัว เช่น หมิ่นประมาท , ฉ้อโกง , ทำให้เสียทรัพย์, ยักยอกทรัพย์ , บุกรุก ( ที่ไม่ใช่บุกรุกเหตุฉกรรจ์ ป.อ. 365) , พ.ร.บ. เช็ค เป็นต้น
ถ้า ! ผู้เสียหายประสงค์จะแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อให้พนักงานสอบสวนทำการสอบสวน และสรุปสำนวนให้พนักงานอัยการฟ้องคดีต่อศาล
การสอบสวนถือว่าเป็นเงื่อนไขของอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ คำร้องทุกข์ก็ต้องชอบด้วยกฎหมาย
“ ป.วิ.อ. มาตรา 121 พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนคดีอาญาทั้งปวง
แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว ห้ามมิให้ทำการสอบสวน เว้นแต่จะมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ”
1. ผู้ที่มีอำนาจร้องทุกข์
ผู้ที่มีอำนาจร้องทุกข์ จะต้องเป็นผู้เสียหายเท่านั้นและเป็นผู้เสียหายโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) คือ ผู้เสียหายโดยตรง หรือ ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามมาตรา 4, 5, 6 ประกอบ มาตรา 3 (1)
2. ร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง
ร้องทุกข์ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องกระทำด้วยตนเอง และตามสภาพของการร้องทุกข์ก็เป็นเรื่องเปิดช่องให้จัดการแทนกันได้ การร้องทุกข์จึงมอบอำนาจให้ร้องแทนกันได้
2.1 การมอบอำนาจ จะมอบอำนาจด้วยวาจา หรือ ทำเป็นหนังสือก็ได้ เพราะการร้องทุกข์ กฏหมายไม่ได้บังคับว่า ต้องร้องทุกข์เป็นหนังสือ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. 123 ที่วางหลักว่า “..คำร้องทุกข์จะทำเป็นหนังสือ หรือร้องด้วยปากก็ได้…” ( แต่ในวิธีปฏิบัติการทำงาน ส่วนมากจะทำเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ชัดเจน )
2.2 ประเด็นหนังสือมอบอำนาจ!! ผู้เสียหายต้องระบุในหนังสือมอบอำนาจว่าให้มีอำนาจร้องทุกข์โดยชัดแจ้ง และต้องระบุด้วยว่าให้มีอำนาจร้องทุกข์ในเรื่องอะไร การที่หนังสือมอบอำนาจระบุแต่เพียงว่าให้มีอำนาจแจ้งความได้เท่านั้น ถือว่าเป็นการมอบอำนาจไม่ชัดแจ้ง ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ฎีกาที่ 755/2502 (ป)
การที่หนังสือมอบอำนาจระบุว่า “มอบอำนาจให้ฟ้องคดีต่อศาล” ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจเพียงฟ้องคดีต่อศาลได้เท่านั้น ไม่มีอำนาจร้องทุกข์ ฎีกาที่ 610/2515
ในกรณีหากมีผู้กระทำความผิดหลายคน
หาก ในหนังสือมอบอำนาจ ระบุไว้เพียงบางคนหรือคนใดคนหนึ่ง พนักงานมีอำนาจสอบสวนแต่เพียงบุคคลที่ระบุไว้เท่านั้น และ พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องร้องได้แต่เพียงบุคคลที่ระบุไว้เท่านั้นเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าทราบชื่อควรระบุชื่อทุกคน หรือถ้าไม่ทราบชื่อ หรือยังไม่ชัดเจนว่ามีบุคคลใดที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดครั้งนั้นๆ ก็ควรใช้คำในทำนองสื่อเจตนารมณ์ให้ครอบคลุม เช่น “ บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือ… กับพวก” เป็นต้น เช่นนี้ พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนทุกๆคน และอัยการก็มีอำนาจฟ้องเช่นกัน
*** ฎีกาที่ 6632/2561*** หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า โจทก์ร่วมขอมอบอำนาจให้ ส.ผู้รับมอบอำนาจให้ทำการดังนี้ “แจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองฉะเชิงเทราหรือพนักงานสอบสวนที่มีอำนาจสอบสวนคดีอาญากับบริษัท ศ. (จำเลยที่ 1) ในเรื่องที่บริษัท ศ.ได้ทำการยักยอกเหล็กเส้นที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งผู้มอบอำนาจได้สั่งซื้อ….”
ตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวระบุชัดเจนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น #ไม่มีข้อความใดๆที่ระบุให้ดำเนินคดีแก่จำเลยที่2 #หรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่1 แต่อย่างใด ทั้งความเป็นนิติบุคคลของจำเลยที่ 1 นั้น เป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากความเป็นบุคคลของจำเลยที่ 2 ที่มีฐานะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 ประกอบกับความรับผิดในทางอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้กระทำความผิด
เมื่อโจทก์ร่วมมีหนังสือมอบอำนาจให้ ส.ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนโดยระบุให้ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น #กรณีจึงไม่มีผลที่จะให้ถือได้ว่าโจทก์ร่วมร้องทุกข์ให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยที่2 เพื่อให้รับผิดในฐานะที่ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
พนักงานสอบสวนจึงไม่มีอำนาจสอบสวนคดีสำหรับจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 121 พนักงานอัยการจึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 120
#มอบอำนาจให้ไปแจ้งความ
#เกร็ดความรู้ เมื่อต้องการมอบอำนาจให้ไปแจ้งความร้องทุกข์
ติวเนติฯคอร์สยาว เทอม2สมัย76 ยังเปิดรับ มาพร้อมกับการวางแผนการเรียนพร้อมตะลุยข้อสอบเขียน แถมฟรีคอร์สติวสรุป และคอร์สฝึกเขียนข้อสอบ กับระบบJPlaw e-learning (เว็บไซต์) ที่เรียนซ้ำๆได้ถึงวันสอบ
กดดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้ ได้เลย
☆ ติดต่อสอบถามหรือสมัครได้ที่
● 088-2878963
● inboxfanpage http://m.me/tuitor.jane
● แอดไลน์สถาบันรับข้อมูลดีๆทางไลน์ครับ https://lin.ee/fEN7wac