ในคดีนี้ โจทก์เป็นช่างสักและมีร้านค้าเป็นของตัวเอง ได้ฟ้องจำเลยที่เป็นช่างสักและมีร้านค้าของตัวเองเช่นกัน เป็นคดีอาญา ต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาว่า ละเมิดลิขสิทธิ์ใน แบบงานที่นำมาสัก
1. ลายที่นำมาสักลงเนื้อตัว
ลายที่นำมาสักลงเนื้อตัว ถ้าเป็นงานที่เกิดจากการวาด ถือเป็นงานศิลปกรรม ประเภท จิตกรรม หรือถ้าเป็นรูปภาพ ภาพถ่าย ถือเป็นงานศิลปกรรม ประเภท จิตกรรม งานภาพถ่าย ทั้งนี้ พรบ ลิขสิทธิ์มาตรา4
2. ในทางกฎหมายงานต่างๆ
ในทางกฎหมายงานต่างๆ ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นโดยใช้ความวิริยะอุตส่าหะ (โดยไม่ไปคัดลอก ทำซ้ำของผู้อื่นมา) และผลงานออกมา ตามประเภทงานที่กฎหมายกำหนด เช่น
- งานวรรณกรรม
- งานนาฏกรรม
- งานศิลปกรรม แบ่งเป็นประเภทต่างๆ คือ จิตรกรรม ,ประติมากรรม ,สถาปัตยกรรม , ภาพถ่าย ภาพประกอบภาพพิมพ์ศิลปะประยุกต์
- งานดนตรีกรรม
- งานสิ่งบันทึกเสียง
- งานโสตทัศนวัสดุ
- งานภาพยนตร์
- งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่มีการสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นโดยอัตโนมัติ เจ้าของลิขสิทธิ์จะมีสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในการทำซ้ำ ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมถึงมีการอนุญาตให้ผู้อื่นนำงานนั้นไปใช้ได้ด้วย โดยที่เจ้าของไม่ต้องจดทะเบียนก่อนเหมือนเครื่องหมายการค้าหรือสิทธิบัตร
3. ช่างสัก คัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง
ผู้ใด ไปคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวจากเจ้าของงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
4. ข้อเท็จจริงทางคดี
ข้อเท็จจริงทางคดี คือ โจทก์ ฟ้องว่า จำเลยนำแบบอันเป็นงานมีลิขสิทธิ์ของโจทก์ มาสักให้ลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์อันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง เพื่อให้ศาลพิจาณาว่าจะรับฟ้องโจทก์ได้หรือไม่ ?
จากการวินิจฉัยของศาล ได้ข้อสังเกตหลายๆประการ เพื่อนำมาใช้เป็นองค์ความรู้และแนวทางปฏิบัติในการทำงานของช่างสัก หรือ ร้านสักได้ดังนี้
- เมื่อปรากฎว่าจำเลยที่เป็นช่างสัก ไม่ได้เป็นผู้ที่กำหนดหรือคัดลอกมา แบบดังกล่าว แต่เป็นกรณีที่ลูกค้าของจำเลยได้นำแบบมาให้จำเลยทำการสัก ทั้งก็ไม่ปรากฎถึงที่มาที่ไปว่าเป็นของผู้ใด เช่นนี้จะถือว่าจำเลยมีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ได้
- เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่า ช่างสักที่ทำการสักนั้นไม่ใช่ตัวจำเลย เป็นช่างคนอื่นที่มาร่วมงานกับจำเลย จะถือว่าจำเลยเป็นผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ก็ไม่ได้ คดีนี้จำเลยไม่ใช่นิติบุคคล เป็นเพียงบุคคลธรรมดา ( คดีอาญา สาระสำคัญคือ ผู้ลงมือกระทำ หรือบุคคลอื่นที่ไม่ได้เป็นผู้ลงมือ จะมีความผิดได้ต้องอยู่ในลักษณะตัวการร่วม หรือ ผู้สนับสนุน กับผู้ลงมือ ซึ่งทางคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเพียงผู้เดียวเป็นผู้ลงมือกระทำ )
- ส่วนที่โจทก์นาสืบต่อมาว่า หลังจากนั้นโจทก์ได้ติดต่อทักแชทไปที่ร้าน ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ และขอให้สักลวดลายพิพาทตามฟ้อง ซึ่งทางร้านของจาเลยก็ยินดีที่จะดาเนินการให้ ก็มีลักษณะของการล่อซื้อ ซึ่งทาให้ฟังได้ว่าโจทก์มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย เพราะเป็นผู้ไปขอให้ทางร้านของจำเลยดำเนินการเอง
บทสรุปคือ #ศาลยกฟ้องโจทก์ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยชอบตามกฎหมาย
ข้อคิดเพื่อประโยชน์สำหรับช่างสักหรือร้านสัก
- การนำตัวอย่างลวดลายต่างๆ มาสัก ทางที่ดีควรเป็นตัวอย่างที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ถ้าไม่ได้สร้างสรรค์ด้วยตนเอง แต่นำมาจากแหล่งใด ก็ต้องระมัดระวังเรื่องการเป็นเจ้าของงานนั้นๆด้วย ว่าใครเป็นเจ้าของงาน เมื่อรู้ว่าใครคือเจ้าของงานก็ควรดำเนินการขออนุญาต (ทั้งนี้อาจมีค่าใช้จ่ายใดๆก็ได้) หรืออาจเป็นการซื้อตัวอย่างงานต่างๆจากเว็บไซค์ก็ได้ เช่น Shutterstock
- กรณีที่ลูกค้านำงานมาให้ที่ร้านสักให้ ทางที่ดีก็ควรสอบถามลูกค้าว่านำงานมาจากที่ใด หรือจะทำเอกสารที่มีข้อความชัดเจนกับลูกค้าในทำนองว่า “งานดังกล่าวนั้นเป็นงานที่ลูกค้านำมาให้สัก ไม่ใช่งานที่ช่างสักหรือทางร้านเป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้น หากมีปัญหาเกิดขึ้นใดๆเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของงาน ร้านสักหรือช่างไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง” เนื่องจากร้านสักหรือช่าง ไม่สามารถรู้ได้ชัดเจนว่าแบบสนิทใจ 100% ว่า ตัวอย่างนั้นๆที่ลูกค้านำมา เป็นการนำมาจากไหน อย่างไร (เพื่อเป็นการป้องการไว้ดีกว่าแก้)