คำว่า “ พราก ”
คำว่า “ พราก ” หมายถึง พาไป หรือ แยกเด็ก หรือ ผู้เยาว์ ออกไปจากความปกครองดูแล ทำให้ความปกครองดูแล ถูกรบกวน หรือถูกกระทบกระเทือน ( ฎ .3152 / 2543 )
ความผิดตาม ม.317 – ม.319
ความผิดตาม ม.317 – ม.319 มีความมุ่งหมายเพื่อให้ความคุ้มครองอำนาจปกครองของบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้ดูแล ที่มีต่อเด็กหรือผู้เยาว์มิให้ผู้ใดพาไปหรือแยกออกจากความปกครองดูแลโดยไม่จำกัดว่าจะกระทำด้วยวิธีใด และไม่คำนึงถึงระยะใกล้หรือไกล (ฎ.848/2548) แม้เป็นการพาไปเพียงชั่วคราวก็เป็นความผิด (ฎ.2858/2540)
บิดามารดา ผู้ปกครอง
บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลนั้นถือตามความจริงไม่ได้ถือตาม ก.ม.เช่น เด็กอยู่กับป้า ก็ถือว่าป้าเป็นผู้ดูแล (ฎ.6207/2541) หรือ เด็กทำงานเป็นลูกจ้าง ก็ถือว่านายจ้างเป็นผู้ดูแล (ฎ.1087/2520)
การที่จะเป็นความผิดฐาน พรากผู้เยาว์
การที่จะเป็นความผิดฐานพราก เด็ก หรือ ผู้เยาว์ จะต้องอยู่ในความปกครองของผู้หนึ่งผู้ใดในขณะที่พราก (ฎ.2155/2514) และผู้กระทำต้องมีเจตนาขณะพราก คือ รู้ว่าเด็กหรือผู้เยาว์มีอายุเท่าใดขณะพราก
อายุไม่เกิน 15
อายุไม่เกิน 15 = พรากเด็กอายุไม่เกิน15 ไม่ว่าเด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม (ป.อ.317วรรคแรก)
แต่ถ้าพรากเพื่อเจตนาที่จะกระทำทางเพศ ก็ผิดพรากเด็กอายุไม่เกิน15 ไปเพื่ออนาจาร (ป.อ.317วรรค3)
แต่ถ้าพรากเพื่อเจตนาที่จะกระทำทางเพศ ก็ผิดพรากเด็กอายุไม่เกิน15 ไปเพื่ออนาจาร (ป.อ.317วรรค3)
อายุเกิน15แต่ไม่เกิน18 (พรากผู้เยาว์)
จะผิดพรากผู้เยาว์ ผู้เยาว์ต้องไม่ยินยอม (ป.อ.318 วรรคแรก) และถ้าพรากเพื่อมีเจตนาไปกระทำทางเพศ ก็ผิดพรากผู้เยาว์โดยไม่เต็มใจเพื่ออนาจาร ( ป.อ.318วรรค3)
ผู้เยาว์ที่เต็มใจไปด้วยไม่ผิด (ตาม 4.2.1) แต่ถ้า ถ้าพรากเพื่อมีเจตนาไปกระทำทางเพศ ก็มีความผิดพรากผู้เยาว์เพื่ออนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจ ( ป.อ.319วรรค1)
หากไม่ได้อยู่ในความปกครองดูแลของผู้ใด
หากไม่ได้อยู่ในความปกครองดูแลของผู้ใดเลยย่อมไม่เป็นการพราก เช่น เป็นเด็กเร่ร่อน
**หมายเหตุ** แต่ การที่เด็กออกไปเที่ยวเล่น เพียงชั่วคราว ยังคงถือว่าอยู่ในความปกครองดูแลอยู่ จึงเป็นการพรากได้ ( เทียบ ฎ.2277/2539 )
**หมายเหตุ** แต่ การที่เด็กออกไปเที่ยวเล่น เพียงชั่วคราว ยังคงถือว่าอยู่ในความปกครองดูแลอยู่ จึงเป็นการพรากได้ ( เทียบ ฎ.2277/2539 )
ความผิดฐานพรากเป็นความผิดสำเร็จทันที
ความผิดฐานพรากเป็นความผิดสำเร็จทันที ตั้งแต่เวลาที่พาไปหรือแยกเด็กหรือผู้เยาว์ออกจากความปกครองดูแล ( ฎ.767 / 2544 ) แต่ถ้าเด็กหรือผู้เยาว์เต็มใจไปหาจำเลยเอง ไม่ผิดพราก
ความผิดฐานพรากตาม ม.317 – ม.319
ความผิดฐานพรากตาม ม.317 – ม.319 อาจมีความเกี่ยวโยงกับความผิดเกี่ยวกับเพศได้เช่น
✔️ม. 276 – 279 = ข้อหาฐานข่มขืนกระทำชำเรา หรือ อนาจาร
( ข่มขืนกระทำชำเรา หรือ อนาจาร ถ้ากระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 15 แม้เด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ผิดเสมอ แต่ถ้าอายุเกิน 15 แล้วจะผิดได้ต้องไม่ยินยอม)
( ข่มขืนกระทำชำเรา หรือ อนาจาร ถ้ากระทำต่อเด็กอายุไม่เกิน 15 แม้เด็กจะยินยอมหรือไม่ก็ผิดเสมอ แต่ถ้าอายุเกิน 15 แล้วจะผิดได้ต้องไม่ยินยอม)
ม.283ทวิ – 284 = ข้อหาฐานพาผู้อื่นไปเพื่ออนาจาร
( ม.283ทวิ = เป็นพาเด็กหรือผู้เยาว์ที่อายุไม่เกิน18 ปี ไปเพื่ออนาจาร ไม่ว่าเด็กหรือผู้เยาว์จะยินยอมหรือไม่ก็ตาม)