ว่าด้วย #การสืบพยานเด็กในชั้นศาล
ว่าด้วยการสืบพยานเด็กที่เป็นผู้เสียหายหรือพยาน #ไม่เกิน18ปี ขณะเบิกความในคดีอาญา (ไม่รวมถึงเด็กที่เป็นจำเลย)
ป.วิ.อ.มาตรา 172 ตรีได้กำหนดหลักเกณฑ์การสืบพยานบุคคลในชั้นศาลแยกพิจารณา ดังนี้ 👇
ว่าด้วยการสืบพยานเด็กที่เป็นผู้เสียหายหรือพยาน #ไม่เกิน18ปี ขณะเบิกความในคดีอาญา (ไม่รวมถึงเด็กที่เป็นจำเลย)
ป.วิ.อ.มาตรา 172 ตรีได้กำหนดหลักเกณฑ์การสืบพยานบุคคลในชั้นศาลแยกพิจารณา ดังนี้ 👇
กรณีที่เด็กมาศาล (ให้พิจารณา ว.1-3)
ให้พยานเด็กอยุ่ในที่ที่เหมาะสมโดยแยกห้อง. เพื่อป้องกันการเผชิญหน้ากับจำเลยและถ่ายทอดภาพและเสียงไปยังห้องพิจารณา (#ห้องสืบพยานเด็ก)
ขั้นตอน การสืบพยานเด็กในชั้นศาล แยกพิจารณาอีกครั้ง ดังนี้
ก่อนที่จะเริ่มสืบพยาน กรณีอาจต้องด้วย 172 ตรี วรรค 3 ที่ได้กำหนดเป็นพิเศษเพื่อเป็นการคุ้มครองเด็กไม่ต้องตอบคำถามซ้ำซ้อนหลายครั้ง (กระทบกระเทือนจิตใจเด็กได้)
ถ้าศาลใช้ดุลพินิจเอง หรือพยานเด็กร้องขอ หรือ คู่ความฝ่ายใดร้องขอ ให้ศาลจัดให้มีการ #เปิดสื่อภาพและเสียง คำให้การของผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กนั้น ที่ได้บันทึกไว้ในชั้นสอบสวนตาม 133 ทวิ หรือชั้นไต่สวน 171วรรคสอง มาเปิดต่อหน้าคู่ความและ #ให้ถือเสมือนว่าสื่อนั้นเป็นส่วนหนึ่งของคำเปิกความของพยาน โดยให้คู่ความ ถามพยานเพิ่มเติม ถามค้าน หรือ ถามติงพยานได้ ทั้งนี้ เท่าที่จำเป็น และ ภายในขอบเขตที่ ศาล เห็นสมควร
แต่ถ้าไม่ต้องด้วยกรณีตาม172 ตรีวรรค 3 ข้างต้น (คือเด็กสามารถเบิกความตอบคำถามได้) วิธีการสืบพยานก็ต้องมาพิจารณาตาม 172 ตรีวรรค 1-2 คือ…ในการถามพยานเด็ก
— ศาลสามารถเป็นผู้ถามพยานเด็กเองได้โดยตรง หรือ ถาม ผ่าน นักจิตวิทยา หรือ นักสังคมสงเคราะห์ ก็ได้
— แต่ คู่ความ จะถาม พยานเด็กโดยตรงไม่ได้ ต้องถาม ผ่าน นักจิตวิทยา หรือ นักสังคมสงเคราะห์
— ศาลสามารถเป็นผู้ถามพยานเด็กเองได้โดยตรง หรือ ถาม ผ่าน นักจิตวิทยา หรือ นักสังคมสงเคราะห์ ก็ได้
— แต่ คู่ความ จะถาม พยานเด็กโดยตรงไม่ได้ ต้องถาม ผ่าน นักจิตวิทยา หรือ นักสังคมสงเคราะห์
กรณีที่เด็กไม่มาศาล (ให้พิจารณา ว.4)
172ตรี วรรค 4 บัญญัติให้ศาลรับฟัง สื่อภาพและเสียง ที่ได้บันทึกไว้ชั้นสอบสวนตาม 133ทวิ หรือชั้นไต่ ตาม 171 วรรค 2 เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาของศาลและให้ศาลรับฟังประกอบพยานอื่นในการพิจารณาพิพากษาคดีได้…
*แม้เทปบันทึกภาพและเสียงคำให้การของพยานเด็กดังกล่าวจะเป็นพยานบอกเล่าเพราะไม่ได้ตัวเด็กมาก็ตาม แต่การที่พยานเด็กให้การต่อหน้า ไม่ว่าจะอัยการ ,นักจิตฯหรือนักสังฯ ,บุคคลที่เด็กร้องขอ ,พนักงานสอบสวน ย่อมเป็นพยานบอกเล่าที่มี่น้ำหนักค่อนข้างมากและมีคุณค่าเชิงพิสูจน์
กฎหมายจึงบัญญัติให้รับฟังได้เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาของศาล เป็นการยกเว้นให้รับฟังพยานบอกเล่าได้ตาม 226/3(2)
แต่ให้ศาลรับฟังในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีเท่านั้น…….ฯ
แต่ให้ศาลรับฟังในฐานะพยานประกอบพยานหลักฐานอื่นในคดีเท่านั้น…….ฯ
***แต่อย่างไรดี!! กรณีที่ให้ศาลสามารถรับฟังเทปบันทึกเสมือนเป็นคำเบิกความของพยานนั้นได้ตาม 172 ตรีวรรค 4 นั้น การไม่ได้ตัวพยานเด็กมาเบิกความดังกล่าว *#ต้องมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งด้วย ถ้าไม่ปรากฎเหตุจำเป็น ศาลจะไม่รับฟังสื่อภาพและเสียงเสมือนเป็นคำเบิกความในชั้นพิจารณาศาลได้แต่อย่างใด
เทียบฎีกาฎีกาที่ 4112/2552….ในการรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนตามมาตรา 133 ทวิ เสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานนั้นในชั้นพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 172 ตรี วรรคท้าย นั้น ต้องมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความต่อศาล
กรณีที่โจทก์เพิ่งอ้างในฎีกาถึงสาเหตุที่ไม่ได้ตัวพยานมาเบิกความ เพราะเกิดความกลัว โดยไม่ปรากฏในชั้นพิจารณาถึงสาเหตุดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่ศาลจะรับฟังสื่อภาพและเสียงคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนเสมือนหนึ่งเป็นคำเบิกความของพยานในชั้นพิจารณาของศาลได้
ติวเนติฯคอร์สยาว เทอม2สมัย76 ยังเปิดรับ มาพร้อมกับการวางแผนการเรียนพร้อมตะลุยข้อสอบเขียน แถมฟรีคอร์สติวสรุป และคอร์สฝึกเขียนข้อสอบ กับระบบJPlaw e-learning (เว็บไซต์) ที่เรียนซ้ำๆได้ถึงวันสอบ
กดดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้ ได้เลย
☆ ติดต่อสอบถามหรือสมัครได้ที่
● 088-2878963
● inboxfanpage http://m.me/tuitor.jane
● แอดไลน์สถาบันรับข้อมูลดีๆทางไลน์ครับ https://lin.ee/fEN7wac