#ประเด็น คู่ความร่วมกันในคดีเดียว กับ เรื่องเงินๆในการยื่นอุทธรณ์/ฎีกา #คดีแพ่ง
เงินค่าธรรมเนียมศาล
เงินค่าธรรมเนียมศาล คือ เงินที่ชำระให้แก่ศาล ได้แก่ เงินค่าขึ้นศาล และค่าคำร้อง คำขอต่าง ๆ ตามตาราง 1 และตาราง 2 ท้าย ป.วิ.พ.ซึ่งมาตรา 149 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้ยื่นคำฟ้อง คำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกา ต้องนำมาชำระแก่ศาลพร้อมกับยื่นคำฟ้อง
เงินค่าธรรมเนียมใช้แทน
เงินค่าธรรมเนียมใช้แทน คือ เงินค่าธรรมเนียมที่ศาลล่างพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีชำระแก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งรวมถึงค่าป่วยการพยาน ค่าทนายความ ฯลฯ โดยผู้อุทธรณ์, ฎีกา จะต้องนำเงินดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์หรือคำฟ้องฎีกาด้วย ตามมาตรา 229
#การเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์กรณีมีคู่ความหลายคน
** เบื้องต้น หนี้ที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ เช่น ลูกหนี้ร่วม/เจ้าหนี้ร่วม/นายจ้างกับลูกจ้างในมูลละเมิด/ผู้สั่งจ่ายเช็คกับผู้สลักหลัง/ลูกหนี้ชั้นต้น กับ ผู้ค้ำ ผู้จำนอง เป็นต้น
** เบื้องต้น หนี้ที่แบ่งแยกจากกันไม่ได้ เช่น ลูกหนี้ร่วม/เจ้าหนี้ร่วม/นายจ้างกับลูกจ้างในมูลละเมิด/ผู้สั่งจ่ายเช็คกับผู้สลักหลัง/ลูกหนี้ชั้นต้น กับ ผู้ค้ำ ผู้จำนอง เป็นต้น
1. ถ้าคู่ความฝ่ายเดียวกันเป็นหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระได้ การเสียค่าขึ้นศาล และการวางค่าธรรมเนียมใช้แทน จะต้องแยกกันชำระโดยลำพังแต่เฉพาะของคู่ความแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นการยื่นอุทธรณ์คนละฉบับ หรือยื่นรวมกันเป็นฉบับเดียวกันก็ตาม (ฎ. 5590/2548)
2. ถ้าคู่ความฝ่ายเดียวกันเป็นหนี้ซึ่งแบ่งแยกกันชำระมิได้ แยกเป็น 2 กรณี
1) กรณียื่นอุทธรณ์รวมกันมาในฉบับเดียวกัน การเสียค่าขึ้นศาลและการวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทน จะคิดรวมกันเป็นจำนวนเดียว ไม่คิดแยกเป็นรายคน (ฎ. 9014/2547)
2) กรณีแยกยื่นอุทธรณ์คนละฉบับ
– การเสียค่าขึ้นศาลจะต้องแยกกันเสียตามอุทธรณ์แต่ละฉบับ เพราะอุทธรณ์แต่ละฉบับถือว่าเป็นคำฟ้องที่ผู้อุทธรณ์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลในเวลายื่นคำฟ้อง ตามมาตรา 149
– แต่เงินค่าธรรมเนียมใช้แทน เมื่อคู่ความคนหนึ่งอุทธรณ์ และได้วางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนครบจำนวนแล้ว คู่ความอีกคนหนึ่งที่ยื่นอุทธรณ์ในภายหลัง ก็ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนซ้ำอีก แม้เป็นการแยกยื่นอุทธรณ์คนละฉบับกันก็ตาม เพราะคู่ความแต่ละคนจะต้องร่วมกันรับผิดในเงินจำนวนดังกล่าว (ฎ.2571/2541, ฎ. 9014/2547, ฎ.4024/2536)
1) กรณียื่นอุทธรณ์รวมกันมาในฉบับเดียวกัน การเสียค่าขึ้นศาลและการวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทน จะคิดรวมกันเป็นจำนวนเดียว ไม่คิดแยกเป็นรายคน (ฎ. 9014/2547)
2) กรณีแยกยื่นอุทธรณ์คนละฉบับ
– การเสียค่าขึ้นศาลจะต้องแยกกันเสียตามอุทธรณ์แต่ละฉบับ เพราะอุทธรณ์แต่ละฉบับถือว่าเป็นคำฟ้องที่ผู้อุทธรณ์แต่ละคนต้องเสียค่าขึ้นศาลในเวลายื่นคำฟ้อง ตามมาตรา 149
– แต่เงินค่าธรรมเนียมใช้แทน เมื่อคู่ความคนหนึ่งอุทธรณ์ และได้วางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนครบจำนวนแล้ว คู่ความอีกคนหนึ่งที่ยื่นอุทธรณ์ในภายหลัง ก็ไม่ต้องวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนซ้ำอีก แม้เป็นการแยกยื่นอุทธรณ์คนละฉบับกันก็ตาม เพราะคู่ความแต่ละคนจะต้องร่วมกันรับผิดในเงินจำนวนดังกล่าว (ฎ.2571/2541, ฎ. 9014/2547, ฎ.4024/2536)
ติวเนติฯคอร์สยาว เทอม2สมัย76 ยังเปิดรับ มาพร้อมกับการวางแผนการเรียนพร้อมตะลุยข้อสอบเขียน แถมฟรีคอร์สติวสรุป และคอร์สฝึกเขียนข้อสอบ กับระบบJPlaw e-learning (เว็บไซต์) ที่เรียนซ้ำๆได้ถึงวันสอบ
กดดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์นี้ ได้เลย
☆ ติดต่อสอบถามหรือสมัครได้ที่
● 088-2878963
● inboxfanpage http://m.me/tuitor.jane
● แอดไลน์สถาบันรับข้อมูลดีๆทางไลน์ครับ https://lin.ee/fEN7wac